คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมายเดียวกัน
และเป็น ลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะ ซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
- พระบรมวงศานุวงศ์
- พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
- ขุนนาง ข้าราชการ
- สุภาพชน
คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำนาม
คำสามัญ | คำราชาศัพท์ | คำสามัญ | คำราชาศัพท์ |
หัว(พระมหากษัตริย์) | พระเจ้า | หัว | พระเศียร |
ผม(พระมหากษัตริย์) | เส้นพระเจ้า | ผม | พระเกศา,พระเกศ,พระศก |
หน้าผาก | พระนลาฎ | คิว | พระขนง,พระภมู |
ขนระหว่างคิว | พระอุณาโลม | ดวงตา | พระจักษุ,พระนัยนา,พระเนตร |
จมูก | พระนาสา,พระนาสิก | แก้ม | พระปราง |
ปาก | พระโอษฐ์ | ฟัน | พระทนต์ |
ลิ้น | พระชิวหา | คาง | พระหนุ |
หู | พระกรรณ | คอ | พระศอ |
ดวงตา | พระเนตร | หนวด | พระมัสสุ |
บ่า,ไหล่ | พระอังสา | ต้นแขน | พระพาหา,พระพาหุ |
ปลายแขน | พระกร | มือ | พระหัตถ์ |
นิ้วมือ | พระองคุลี | เล็บ | พระนขา |
ห้อง | พระอุทร | เอว | พระกฤษฎี,บั้นพระเอว |
ขา,ตัก | พระเพลา | แข้ง | พระชงฆ์ |
เท้า | พระบาท | ขน | พระโลมา |
ปอด | พระปัปผาสะ | กระดูก | พระอัฐิ |
หมวดขัตติยตระกูล
คำสามัญ | คำราชาศัพท์ | คำสามัญ | คำราชาศัพท์ |
ปู่,ตา | พระอัยกา | ย่า,ยาย | พระอัยยิกา,พระอัยกี |
ลุง,อา(พี่-น้องชาย ของพ่อ | พระปิตุลา | ป้า,อา(พี่-น้องสาวของ พ่อ) | พระมาตุจฉา |
พ่อ | พระชนก,พระบิดา | แม่ | พระชนนี,พระมารดา |
พี่ชาย | พระเชษฐา,พระเชษฐภาตา | น้องสาว | พระราชธิดา,พระธิดา |
หลาน | พระนัดดา | แหลน | พระปนัดดา |
ลูกเขย | พระชามาดา | ลูกสะใภ้ | พระสุณิสา |
หมวดเครื่องใช้
คำสามัญ | คำราชาศัพท์ | คำสามัญ | คำราชาศัพท์ | คำสามัญ | คำราชาศัพท์ |
ยา | พระโอสถ | แว่นตา | ฉลองพระเนตร | หวี | พระสาง |
กระจก | พระฉาย | น้ำหอม | พระสุคนธ์ | หมวก | พระมาลา |
ตุ้มหู | พระกุณฑล | แหวน | พระธำมรงค์ | ร่ม | พระกลด |
ประตู | พระทวาร | หน้าต่าง | พระบัญชร | อาวุธ | พระแสง |
ฟูก | พระบรรจถรณ์ | เตียงนอน | พระแท่นบรรทม | มุ้ง | พระวิสูตร |
ผ้าห่มนอน | ผ้าคลุมบรรทม | ผ้านุ่ง | พระภูษาทรง | ผ้าเช็ดหน้า | ผ้าชับพระพักตร์ |
น้ำ | พระสุธารส | เหล้า | น้ำจัณฑ์ | ของกิน | เครื่อง |
ช้อน | พระหัตถ์ ช้อน | ข้าว | พระกระยาเสวย | หมาก | พระศรี |
คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำสรรพนาม
บุรุษที่ 1
สรรพนาม | ผู้พูด | ผู้ฟัง |
ข้าพระพุทธเจ้า | บุคคลทั่วไป | พระมหากษัตริย์,เจ้านายชั้นสูง |
เกล้ากระหม่อมฉัน | บุคคลทั่วไป(หญิง) | เจ้านายชั้นรองลงมา |
เกล้ากระหม่อม | บุคคลทั่วไป(ชาย) | |
เกล้ากระผม | บุคคลทั่วไป | |
บุรุษที่ 2
สรรพนาม | ผู้พูด | ผู้ฟัง |
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท | เจ้านายหรือบุคคลทั่วไป | พระมหากษัตริย์,พระบรมราชินีนาถ |
ใต้ฝ่าละอองพระบาท | เจ้านายหรือบุคคลทั่วไป | พระบรมโอรสาธิราช,พระบรมราชกุมารี |
ใต้ฝ่าพระบาท | เจ้านายหรือบุคคลทั่วไป | เจ้านายชั้นสูง |
ฝ่าพระบาท | เจ้านายที่เสมอกันเหรือผู้น้อย | เจ้านายชั้นหม่อมเจ้าถึงพระเจ้าวรวงศ์เธอ |
บุรุษที่ 3
สรรพนาม | ผู้พูด | ใช้กับ |
พระองค์ | บุคคลทั่วไป | พระมหากษัตริย์,เจ้านายชั้นสูง |
ท่าน | บุคคลทั่วไป | เจ้านาย |
คำขานรับ
คำ | ผุ้ใช้ | ใช้กับ |
พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม | ชาย | พระมหากษัตริย์ |
เพคะใส่เกล้าใส่กระหม่อมหรือเพคะ | หญิง | พะมหากษัตริย์ |
พระพุทธเจ้าข้าขอรับ,พระพุทธเจ้าข้า | ชาย | เจ้านายชั้นสูง |
เพค่ะกระหม่อม | หญิง | เจ้านายชั้นสูง |
คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำกริยา
เป็นคำแสดงอาการ แบ่งเป็น 4 ชนิด
- กริยาที่เป็นราชาศัพท์ในตัวเอง เช่น ตรัส(พูด) เสด็จ(ไป) กริ้ว(โกรธ) ประชวร (ป่วย) ประสูติ(เกิด) ทูล(บอก) เสวย(กิน) ถวาย(ให้) บรรทม(นอน) ประทับ(อยู่) โปรด(รัก,ชอบ) ทรงม้า(ขี่ม้า) ทรงดนตรี(เล่นดนตรี)
- ใช้ทรงนำหน้ากริยาธรรมดา เช่น ทรงฟัง ทรงยืน ทรงยินดี
- ห้ามใช้ทรงนำหน้ากริยาที่มีนามราชาศัพท์ เช่น มีพระราชดำริ(ห้ามใช้ทรงมีพระราชดำริ) มีพระบรมราชโองการ (ห้ามใช้ทรงมีพระบรมราชโองการ)
- ใช้เสด็จนำหน้ากริยาบางคำ เช่นเสด็จกลับ เสด็จขึ้น เสด็จลง
คำกริยาที่ประสมขึ้นใช้เป็นราชาศัพท์ตามลำดับชั้นบุคคล
กริยา | ราชาศัพท์ | ชั้นบุคคล |
เกิด | พระราชสมภพ | พระมหากษัตริย์,พระบรมราชินี |
ประสูติ | เจ้านาย | |
ตาย | สวรรคต | พระมหากษัตริย์,พระบรมราชินี |
ทิวงคต | พระยุพราชหรือเทียบเท่า | |
สิ้นพระชนม์ | พระองค์เจ้าหรือเจ้านายชั้นสู | |
ถึงชีพิตักษัย,สิ้นชีพิตักษัย | หม่อมเจ้า | |
ถึงแก่อสัญกรรม | นายกรัฐมนตรี | |
ถึงแก่อนิจกรรม | รัฐมนตรี | |
คำขึ้นต้นและคำลงท้ายในการกราบบังคมทูล กราบทูล และทูลด้วยวาจา
ฐานันดรของผู้ฟัง | คำขึ้นต้น | คำลงท้าย |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , สมเด็จพระบรมราชินีนาถ | ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม | ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ |
สมเด็จพระบรมราชินี , สมเด็จพระบรมราชชนนี , สมเด็จพระยุพราช , สมเด็จพระสยามบรมราชกุมารี | ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท | ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ควรมีควรแล้วแต่จะทรงพิจารณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม |
สมเด็จเจ้าฟ้า | ขอพระราชทานกราบทูลทราบฝ่าพระบาท | ควรมีควรแล้วแต่จะทรงพิจารณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า | ขอประทานกราบทูลทราบฝ่าพระบาท | ควรมีควรแล้วแต่จะทรงพิจารณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม |
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า | กราบทูลฝ่าพระบาท | ควรมีควรแล้วแต่จะโปรด |
หม่อมเจ้า | ทูลฝ่าพระบาททรงทราบ | แล้วแต่จะโปรด |
การใช้คำราชาศัพท์ในการเพ็ดทูล
หลักเกณฑ์ในการกราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดิน
- ถ้าผู้รับคำกราบบังคมทูลไม่ทรงรู้จัก ควรแนะนำตนเองว่า "ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกหระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า ......................ชื่อ.................... ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท" และลงท้ายว่า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
- ถ้ากราบบังคมทูลธรรมดา เช่น ทรงมีกระแสพระราชดำรัสถามส่าชื่ออะไร ก็กราบบังคมทูลว่า "ข้าพระพุทธเจ้า ชื่อ ...................พระพุทธเจ้าข้า"
- ถ้าต้องการกราบบังคมทูลถึงความสะดวกสบาย หรือรอดอันตรายให้ใช้คำว่า "เดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม......................"
- ถ้าจะกราบบังคมทูลถึงสิ่งที่ทำผิดพลาดไม่สมควรทำให้ใช้คำนำ "พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม"
- ถ้าจะกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระมหากรุณาใช้คำว่า "ขอพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม"
- ถ้าจะกราบบังคมทูลถึงของหยาบมิบังควร ใช้คำว่า "ไม่ควรจะกราบบังคมพระกรุณา"
- ถ้าจะกราบบังคมทูลเป็นกลางๆ เพื่อให้ทรงเลือก ให้ลงท้ายว่า "ควรมีควร ประการใดสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม"
- ถ้าจะกราบบังคมทูลถึงความคิดเห็นของตนเองใช้ว่า "เห็นด้วยเกล้าด้วยกระกม่อม"
- ถ้ากราบบังคมทูลถึงสิ่งที่ที่ทราบใช้ว่า "ทราบเกล้าทราบกระหม่อม"
- ถ้าจะกราบบังคมทูลถึงการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งถวายใช้คำว่า "สนองพระมหากรุณาธิคุณ"
- ถ้าจะกล่าวขออภัยโทษ ควรกล่าวคำว่า "เดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า" และลงท้ายว่า ด้วยเกล้าด้วยกระกม่อม
- การกล่าวถึงสิ่งที่ได้รับความอนุเคราะห์ ให้ใช้คำว่า "พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม"
สำหรับเจ้านายตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป
- ในการกราบบังคมทูล ไม่ต้องใช้คำขึ้นต้นและลงท้าย ถ้าเป็นพระยุพราช , พระราชินีแห่งอดีตรัชกาลและสมเด็จเจ้าฟ้า ควรใช้สรรพนามแทนพระองค์ท่านว่า "ใต้ฝ่าละอองพระบาท" ใช้สรรพนามแทนตนเองว่า "ข้าพระพุทธเจ้า" และใช้คำรับว่า "พระพุทธเจ้าข้า"
- เจ้านายชั้นรองลงมา ใช้สรรพนามแทนพระองค์ว่า "ใต้ฝ่าพระบาท" ใช้สรรพนามแทนตนเองว่า "เกล้ากระหม่อม" ใช้คำรับว่า "พระเจ้าข้า" เจ้านายชั้นสมเด็จพระยาและพระยาพานทอง ใช้สรรพนามของท่านว่า "ใต้เท้ากรุณา" ใช้สรรพนามของตนว่า "เกล้ากระหม่อม" ฝช้คำรับว่า "ขอรับกระผม"
- คำที่พระภิกษุใช้เพ็ดทูลต่อพระเจ้าแผ่นดิน แทนคำรับว่า "ถวายพระพร" แทนตนเองว่า "อาตมภาพ" ใช้สรรพนามของพระองค์ว่า "มหาบพิตร"
วิธีใช้คำประกอบหน้าคำราชาศัพท์
- พระบรมราช ใช้ประกอบหน้าคำเพื่อให้เห็นว่าสำคัญยิ่ง ในกรณีที่ต้องการเชิดชูพระราชอำนาจ
- พระบรม ใช้ประกอบหน้าคำเพื่อให้เห็นว่าสำคัญยิ่ง ในกรณีที่ต้องการเชิดชูพระราชอิสริยยศ
- พระราช ใช้ประกอบหน้าคำเพื่อให้เห็นว่าสำคัญรองมาจาก พระบรม เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งเฉพาะขององค์พระเจ้าแผ่นดิน
วิธีใช้คำประกอบหลังคำราชาศัพท์
- ทรง ใช้ประกอบหลังคำนาม เพื่อเป็นคำนามราชาศัพท์
- ต้น ใช้ประกอบหลังคำนามสำคัญทั่วไป เพื่อทำให้เป็นคำนามราชาศัพท์ มักใช้กับสิ่งที่โปรดเป็นพิเศษ
- หลวง ใช้ประกอบหลังคำนามสามัญทั่วไป เพื่อให้เป็นนามราชาศัพท์
- พระที่นั่ง ใช้ประกอบหลังคำนามสามัญ เพื่อให้เป็นนามราชาศัพท์ มีความหมายว่าเป็นที่ประทับส่วนพระองคราชาศัพท์สำหรับพระภิกษุสงฆ์
ราชาศัพท์สำหรับพระภิกษุสงฆ์
ไทยเรามีคำพูดที่ใช้กับพระภิกษุโดยเฉพาะอยู่ประเภทหนึ่งบางทีก็เป็นคำที่พระภิกษุเป็นผู้ใช้เอง ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักกันหมดแล้ว เช่น คำว่า อาตมาภาพ หรืออาตมา มีความหมายเท่ากับ ฉัน บางคำก็ทั้งท่านใช้เองและเราใช้กับท่าน เช่น คำว่า ฉัน หมายถึง กิน เป็นต้น การพูดกับพระภิกษุต้องมีสัมมาคารวะ สำรวม ไม่ใช้ถ้อยคำที่เป็นไปในทำนองพูดเล่นหรือพูดพล่อยๆ ซึ่งจะเป็นการขาดความเคารพไปสำหรับพระภิกษุ เราจำเป็นต้องทราบราชทินนาม เรียกว่า พระภิกษุผู้ทรงสมณศักดิ์ ของพระภิกษุเรียงลำดับได้ดังนี้ เพื่อที่จะได้ใช้ได้อย่างถูกต้อง
- สมเด็จพระสังฆราช
- สมเด็จพระราชาคณะ หรือ ชั้นสุพรรณปัฎ คือ พระภิกษุที่มีราชทินนามนำหน้าด้วยคำว่า "สมเด็จพระ"
- พระราชาคณะชั้นรอง
- พระราชาคณะชั้นธรรม พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "ธรรม" นำหน้า
- พระราชาคณะชั้นเทพ พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "เทพ" นำหน้า
- พระราชาคณะชั้นราช พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "ราช" นำหน้า
- พระราชาคณะชั้นสามัญ
- พระครูสัญญาบัติ , พระครูชั้นประทวน , พระครูฐานานุกรม
- พระเปรียญตั้งแต่ 3-9
การใช้คำพูดกับพระภิกษุทรงสมณศักดิ์ ที่ผิดกันมากคือชั้นสมเด็จพระราชาคณะเห็นจะเป็นเพราะมีคำว่า "สมเด็จ" นำหน้าจึงเข้าใจว่าต้องใช้คำราชาศัพท์ ซึ่งผิด ความจริงแล้ว พระภิกษุทรงสมณศักดิ์ที่ต้องใช้ราชาศัพท์มีเฉพาะเพียงสมเด็จพระสังฆราชเท่านั้น เว้นแต่พระภิกษุรูปนั้นๆ ท่านจะมีฐานันดรศักดิ์ทางพระราชวงศ์อยู่แล้ว.
คำราชาศัพท์ที่ควรทราบ
พระภิกษุที่เป็นพระราชวงศ์ ใช้ราชาศัพท์ตามลำดับชั้นแห่งพระราชวงศ์ สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า(สมเด็จพระสังฆราชที่เป็นพระราชวงศ์) ใช้ดังนี้
-
- คำขึ้นต้น ใช้ว่า ขอประทานกราบทูล (กล่าวพระนามเต็ม)
- สรรพนามแทนผู้พูด ใช้ว่า ข้าพระพุทธเจ้า
- สรรพนามแทนพระองค์ท่าน ใช้ว่า ใต้ฝ่าพระบาท
- คำลงท้าย ใช้ว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ใช้ราชาศัพท์เสมอพระเจ้าวรวงศ์เธอ (ที่มิได้ทรงกรม) เช่น
-
- คำขึ้นต้น ใช้ว่า กราบทูล (กล่าวพระนามเต็ม)
- สรรพนามแทนผู้พูด ใช้ว่า เกล้ากระหม่อม (สำหรับชาย), เกล้ากระหม่อมฉัน(สำหรับหญิง)
- สรรพนามแทนพระองค์ท่าน ใช้ว่า ฝ่าพระบาท
- คำลงท้าย ใช้ว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
สรรพนามบุรุษที่ 1 ที่พระภิกษุใช้
คำที่ใช้ | โอกาสที่ใช้ |
อาตมา | พระภิกษุใช้กับบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ใหญ่หรือมีฐานะตำแหน่งสูงในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ |
อาตมาภาพ | พระภิกษุใช้กับพระราชวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป และใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ เช่น การแสดงพระธรรมเทศนา |
เกล้ากระผม | พระภิกษุใช้กับพระภิกษุที่เป็นอุปัชฌาย์อาจารย์หรือที่ดำรงสมณศักดิ์สูงกว่า |
ผม,กระผม | พระภิกษุใช้กับพระภิกษุด้วยกันโดยทั่ว ๆ ไป |
สรรพนามบุรุษที่ 2 ที่พระภิกษุใช้
คำที่ใช้ | โอกาสที่ใช้ |
มหาบพิตร | พระเจ้าแผ่นดิน |
บพิตร | พระราชวงค์ |
คุณโยม | บิดา, มารดา, ญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่อาวุโสสูง |
คุณ,เธอ | ใช้กับบุคคลทั่วไป |
สรรพนามบุรุษที่ 2 ที่ฆราวาสใช้
คำที่ใช้ | โอกาสที่ใช้ |
พระคุณเจ้า | ฆราวาสใช้กับสมเด็จพระราชาคณะ, รองสมเด็จพระราชาคณะ |
พระคุณท่าน | ฆราวาสใช้กับพระราชาคณะชั้นรองลงมา |
ท่าน | ใช้กับพระภิกษุทั่วไป |
คำขานรับที่พระภิกษุใช้
คำที่ใช้ | โอกาสที่ใช้ |
ขอถวายพระพร | พระราชวงค์ |
เจริญพร | ฆราวาสทั่วไป |
ครับ,ขอรับ | ใช้กับพระภิกษุด้วยกัน |
ศัพท์สำหรับพระภิกษุที่พบบ่อย
คำที่ใช้ | โอกาสที่ใช้ |
รูป | ลักษณะนามสำหรับพระภิกษุสงฆ์ |
อาราธนา | ขอเชิญ |
เจริญพระพุทธมนต์ | สวดมนต์ |
ภัตตาหาร | อาหาร |
ประเคน | ยกของ(ด้วยมือ)ให้พระ |
ฉัน | กิน |
ถวาย | มอบให้ |
เครื่องไทยธรรม | ของถวายพระ, ของทำบุญต่าง ๆ |
อนุโมทนา | ยินดีด้วย |
อาสนะ, อาสน์สงฆ์ | ที่นั่ง |
ธรรมาสน์ | ที่แสดงธรรม |
เสนาสนะ | สถานที่ที่ภิกษุใช้ |
จำวัด | นอน |
สรง | อาบน้ำ |
มรณภาพ | ตาย |
ปลงผม | โกนผม |
กุฏิ | เรือนพักในวัด |
จำพรรษ | อยู่ประจำวัด |
อุปสมบท | บวช (บวชเป็นพระภิกษุ) |
บรรพชา | บวช (บวชเป็นสามเณร) |
ลาสิกขา | สึก |
คิลานเภสัช | ยารักษาโรค |
ลิขิต | จดหมาย |
ครองผ้า | แต่งตัว |
ถวายอดิเรก | กล่าวบทอวยพรพระมหากษัตริย์ |
บิณฑบาต | รับของใส่บาตร |
ปลงอาบัติ | แจ้งความผิดให้ทราบ |
ปัจจัย | เงิน |
ทำวัตร | สวดมนต์ |
เผดียงสงฆ์ | แจ้งให้สงฆ์ทราบ |
สุผ้า | ซักผ้า, ย้อมผ้า |
อาพาธ | ป่วย |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น