สระ
สระ หมายถึง เครื่องหมายใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมา ตามหลักภาษา ถือว่าพยัญชนะจำเป็นต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้
รูปสระในภาษาไทยมี ๒๑ รูปดังนี้
- ะ เรียกว่า วิสรรชนีย์
- ั เรียกว่า ไม้หันอากาศ หรือ ไม้ผัด
- ็ เรียกว่า ไม้ไต่คู้
- า เรียกว่า ลากข้าง
- ิ เรียกว่า พินทุ หรือ พิทุอิ
- ่ เรียกว่า ฝนทอง
- ่ ่ เรียกว่า ฟันหนู
- ํ เรียกว่า นฤคหิต หรือ หยาดน้ำค้าง
- ุ เรียกว่า ตีนเหยียด
- ู เรียกว่า ตีนคู้
- เ เรียกว่า ไม้หน้า
- ใ เรียกว่า ไม้ม้วน
- ไ เรียกว่า ไม้มลาย
- โ เรียกว่า ไม้โอ
- อ เรียกว่า ตัวออ
- ย เรียกว่า ตัวยอ
- ว เรียกว่า ตัววอ
- ฤ เรียกว่า ตัว ฤ (รึ)
- ฤๅ เรียกว่า ตัว ฤๅ (รือ)
- ฦ เรียกว่า ตัว ฦ (ลึ) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
- ฦๅ เรียกว่า ตัว ฦๅ (ลือ) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
เมื่อเวลาออกเสียงสระ เช่น อะ อา เอะ เอ เอียะ เอีย จะออกเสียงแตกต่างกัน บางตัวออกเสียงสั้น บางตัวออกเสียงยาว บางตัวเหมือนมีสระสองเสียงกล้ำกัน ดังนั้น จึงจัดแบ่งเสียงสระเป็นพวกใหญ่ ๆ ได้ 5 พวกด้วยกัน คือ
- สระเสียงสั้น ได้แก่ สระที่ออกเสียงสั้น คือ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ไอ ใอ เอา
- สระเสียงยาว ได้แก่ สระที่ออกเสียงยาว คือ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ
- สระเดี่ยว ได้แก่ สระที่เปล่งเสียงออกมาเป็นเสียงเดียว ไม่มีเสียงอื่นประสมมี 18 ตัวได้แก่ อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ โอะ โอ เอาะ ออ
- สระประสม คือ สระที่มีเสียงสระเดี่ยว 2 ตัวประสมกัน มี 6 ตัวได้แก่
- เอียะ เสียง อิ กับ อะ ประสมกัน
- เอีย เสียง อี กับ อา ประสมกัน
- เอือะ เสียง อึ กับ อะ ประสมกัน
- เอือ เสียง อื กับ อา ประสมกัน
- อัวะ เสียง อุ กับ อะ ประสมกัน
- อัว เสียง อู กับ อา ประสมกัน
- สระเกิน คือ สระที่มีเสียงซ้ำกับสระเดี่ยว ต่างกันก็แต่ว่าสระเกินจะมีเสียงพยัญชนะประสมหรือสะกดอยู่ด้วย มี 8 ตัว ได้แก่
- ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ (รึ รือ ลึ ลือ) มีเสียงพยัญชนะ ร ล ประสมอยู่
- อำ มีเสียง อะ และพยัญชนะ ม สะกด
- ใอ ไอ มีเสียง อะ และพยัญชนะ ย สะกด (คือ อัย)
- เอา มีเสียง อะ และพยัญชนะ ว สะกด
บางตำราถือว่าภาษาไทยมี 21 เสียง ทั้งนี้ คือไม่รวมสระเกินซึ่งถือว่าเป็นหน่วยเสียงในตัวเองโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว และไม่รวมสระประสมเสียงสั้น คือ เอียะ เอือะ อัวะ เนื่องจากมีที่ใช้ในภาษาไทยน้อยมาก และส่วนใหญ่จะเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติซึ่งไม่ได้ใช้สื่อความหมายอื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น