วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

แนะนำตัว


ชื่อ นางสาว ณัฐธิดา โยธะพล
รหัสนิสิต 56010514022

ศึกษาศาสตร์ สาขา ภาษาไทย


วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมายเดียวกัน 
และเป็น ลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะ ซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้
  1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
  2. พระบรมวงศานุวงศ์
  3. พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
  4. ขุนนาง ข้าราชการ
  5. สุภาพชน
คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำนาม
คำสามัญคำราชาศัพท์คำสามัญคำราชาศัพท์
หัว(พระมหากษัตริย์)พระเจ้าหัวพระเศียร
ผม(พระมหากษัตริย์)เส้นพระเจ้าผมพระเกศา,พระเกศ,พระศก
หน้าผากพระนลาฎคิวพระขนง,พระภมู
ขนระหว่างคิวพระอุณาโลมดวงตาพระจักษุ,พระนัยนา,พระเนตร
จมูกพระนาสา,พระนาสิกแก้มพระปราง
ปากพระโอษฐ์ฟันพระทนต์
ลิ้นพระชิวหาคางพระหนุ
หูพระกรรณคอพระศอ
ดวงตาพระเนตรหนวดพระมัสสุ
บ่า,ไหล่พระอังสาต้นแขนพระพาหา,พระพาหุ
ปลายแขนพระกรมือพระหัตถ์
นิ้วมือพระองคุลีเล็บพระนขา
ห้องพระอุทรเอวพระกฤษฎี,บั้นพระเอว
ขา,ตักพระเพลาแข้งพระชงฆ์
เท้าพระบาทขนพระโลมา
ปอดพระปัปผาสะกระดูกพระอัฐิ
หมวดขัตติยตระกูล
คำสามัญคำราชาศัพท์คำสามัญคำราชาศัพท์
ปู่,ตาพระอัยกาย่า,ยายพระอัยยิกา,พระอัยกี
ลุง,อา(พี่-น้องชาย ของพ่อพระปิตุลาป้า,อา(พี่-น้องสาวของ พ่อ)พระมาตุจฉา
พ่อพระชนก,พระบิดาแม่พระชนนี,พระมารดา
พี่ชายพระเชษฐา,พระเชษฐภาตาน้องสาวพระราชธิดา,พระธิดา
หลานพระนัดดาแหลนพระปนัดดา
ลูกเขยพระชามาดาลูกสะใภ้พระสุณิสา
 
หมวดเครื่องใช้
คำสามัญคำราชาศัพท์คำสามัญคำราชาศัพท์คำสามัญคำราชาศัพท์
ยาพระโอสถแว่นตาฉลองพระเนตรหวีพระสาง
กระจกพระฉายน้ำหอมพระสุคนธ์หมวกพระมาลา
ตุ้มหูพระกุณฑลแหวนพระธำมรงค์ร่มพระกลด
ประตูพระทวารหน้าต่างพระบัญชรอาวุธพระแสง
ฟูกพระบรรจถรณ์เตียงนอนพระแท่นบรรทมมุ้งพระวิสูตร
ผ้าห่มนอนผ้าคลุมบรรทมผ้านุ่งพระภูษาทรงผ้าเช็ดหน้าผ้าชับพระพักตร์
น้ำพระสุธารสเหล้าน้ำจัณฑ์ของกินเครื่อง
ช้อนพระหัตถ์ ช้อนข้าวพระกระยาเสวยหมากพระศรี

 คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำสรรพนาม

 บุรุษที่ 1
สรรพนามผู้พูดผู้ฟัง
ข้าพระพุทธเจ้าบุคคลทั่วไปพระมหากษัตริย์,เจ้านายชั้นสูง
เกล้ากระหม่อมฉันบุคคลทั่วไป(หญิง)เจ้านายชั้นรองลงมา
เกล้ากระหม่อมบุคคลทั่วไป(ชาย)
เกล้ากระผมบุคคลทั่วไป

 บุรุษที่ 2
สรรพนามผู้พูดผู้ฟัง
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเจ้านายหรือบุคคลทั่วไปพระมหากษัตริย์,พระบรมราชินีนาถ
ใต้ฝ่าละอองพระบาทเจ้านายหรือบุคคลทั่วไปพระบรมโอรสาธิราช,พระบรมราชกุมารี
ใต้ฝ่าพระบาทเจ้านายหรือบุคคลทั่วไปเจ้านายชั้นสูง
ฝ่าพระบาทเจ้านายที่เสมอกันเหรือผู้น้อยเจ้านายชั้นหม่อมเจ้าถึงพระเจ้าวรวงศ์เธอ

  บุรุษที่ 3
สรรพนามผู้พูดใช้กับ
พระองค์บุคคลทั่วไปพระมหากษัตริย์,เจ้านายชั้นสูง
ท่านบุคคลทั่วไปเจ้านาย

  คำขานรับ

คำผุ้ใช้ใช้กับ
พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อมชายพระมหากษัตริย์
เพคะใส่เกล้าใส่กระหม่อมหรือเพคะหญิงพะมหากษัตริย์
พระพุทธเจ้าข้าขอรับ,พระพุทธเจ้าข้าชายเจ้านายชั้นสูง
เพค่ะกระหม่อมหญิงเจ้านายชั้นสูง

  คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำกริยา

เป็นคำแสดงอาการ แบ่งเป็น 4 ชนิด
  • กริยาที่เป็นราชาศัพท์ในตัวเอง เช่น ตรัส(พูด) เสด็จ(ไป) กริ้ว(โกรธ) ประชวร (ป่วย) ประสูติ(เกิด) ทูล(บอก) เสวย(กิน) ถวาย(ให้) บรรทม(นอน) ประทับ(อยู่) โปรด(รัก,ชอบ) ทรงม้า(ขี่ม้า) ทรงดนตรี(เล่นดนตรี)
  • ใช้ทรงนำหน้ากริยาธรรมดา เช่น ทรงฟัง ทรงยืน ทรงยินดี
  • ห้ามใช้ทรงนำหน้ากริยาที่มีนามราชาศัพท์ เช่น มีพระราชดำริ(ห้ามใช้ทรงมีพระราชดำริ) มีพระบรมราชโองการ (ห้ามใช้ทรงมีพระบรมราชโองการ)
  • ใช้เสด็จนำหน้ากริยาบางคำ เช่นเสด็จกลับ เสด็จขึ้น เสด็จลง

   คำกริยาที่ประสมขึ้นใช้เป็นราชาศัพท์ตามลำดับชั้นบุคคล

กริยาราชาศัพท์ชั้นบุคคล
เกิดพระราชสมภพพระมหากษัตริย์,พระบรมราชินี
ประสูติเจ้านาย
ตายสวรรคตพระมหากษัตริย์,พระบรมราชินี
ทิวงคตพระยุพราชหรือเทียบเท่า
สิ้นพระชนม์พระองค์เจ้าหรือเจ้านายชั้นสู
ถึงชีพิตักษัย,สิ้นชีพิตักษัยหม่อมเจ้า
ถึงแก่อสัญกรรมนายกรัฐมนตรี
ถึงแก่อนิจกรรมรัฐมนตรี

  คำขึ้นต้นและคำลงท้ายในการกราบบังคมทูล กราบทูล และทูลด้วยวาจา

ฐานันดรของผู้ฟังคำขึ้นต้นคำลงท้าย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , สมเด็จพระบรมราชินีนาถขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อมด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
สมเด็จพระบรมราชินี , สมเด็จพระบรมราชชนนี , สมเด็จพระยุพราช , สมเด็จพระสยามบรมราชกุมารีขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาทด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ควรมีควรแล้วแต่จะทรงพิจารณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
สมเด็จเจ้าฟ้าขอพระราชทานกราบทูลทราบฝ่าพระบาทควรมีควรแล้วแต่จะทรงพิจารณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขอประทานกราบทูลทราบฝ่าพระบาทควรมีควรแล้วแต่จะทรงพิจารณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากราบทูลฝ่าพระบาทควรมีควรแล้วแต่จะโปรด
หม่อมเจ้าทูลฝ่าพระบาททรงทราบแล้วแต่จะโปรด

  การใช้คำราชาศัพท์ในการเพ็ดทูล
หลักเกณฑ์ในการกราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดิน
  1. ถ้าผู้รับคำกราบบังคมทูลไม่ทรงรู้จัก ควรแนะนำตนเองว่า "ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกหระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า ......................ชื่อ.................... ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท" และลงท้ายว่า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
  2. ถ้ากราบบังคมทูลธรรมดา เช่น ทรงมีกระแสพระราชดำรัสถามส่าชื่ออะไร ก็กราบบังคมทูลว่า "ข้าพระพุทธเจ้า ชื่อ ...................พระพุทธเจ้าข้า"
  3. ถ้าต้องการกราบบังคมทูลถึงความสะดวกสบาย หรือรอดอันตรายให้ใช้คำว่า "เดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม......................"
  4. ถ้าจะกราบบังคมทูลถึงสิ่งที่ทำผิดพลาดไม่สมควรทำให้ใช้คำนำ "พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม"
  5. ถ้าจะกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระมหากรุณาใช้คำว่า "ขอพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม"
  6. ถ้าจะกราบบังคมทูลถึงของหยาบมิบังควร ใช้คำว่า "ไม่ควรจะกราบบังคมพระกรุณา"
  7. ถ้าจะกราบบังคมทูลเป็นกลางๆ เพื่อให้ทรงเลือก ให้ลงท้ายว่า "ควรมีควร ประการใดสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม"
  8. ถ้าจะกราบบังคมทูลถึงความคิดเห็นของตนเองใช้ว่า "เห็นด้วยเกล้าด้วยกระกม่อม"
  9. ถ้ากราบบังคมทูลถึงสิ่งที่ที่ทราบใช้ว่า "ทราบเกล้าทราบกระหม่อม"
  10. ถ้าจะกราบบังคมทูลถึงการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งถวายใช้คำว่า "สนองพระมหากรุณาธิคุณ"
  11. ถ้าจะกล่าวขออภัยโทษ ควรกล่าวคำว่า "เดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า" และลงท้ายว่า ด้วยเกล้าด้วยกระกม่อม
  12. การกล่าวถึงสิ่งที่ได้รับความอนุเคราะห์ ให้ใช้คำว่า "พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม"
สำหรับเจ้านายตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป
  1. ในการกราบบังคมทูล ไม่ต้องใช้คำขึ้นต้นและลงท้าย ถ้าเป็นพระยุพราช , พระราชินีแห่งอดีตรัชกาลและสมเด็จเจ้าฟ้า ควรใช้สรรพนามแทนพระองค์ท่านว่า "ใต้ฝ่าละอองพระบาท" ใช้สรรพนามแทนตนเองว่า "ข้าพระพุทธเจ้า" และใช้คำรับว่า "พระพุทธเจ้าข้า"
  2. เจ้านายชั้นรองลงมา ใช้สรรพนามแทนพระองค์ว่า "ใต้ฝ่าพระบาท" ใช้สรรพนามแทนตนเองว่า "เกล้ากระหม่อม" ใช้คำรับว่า "พระเจ้าข้า" เจ้านายชั้นสมเด็จพระยาและพระยาพานทอง ใช้สรรพนามของท่านว่า "ใต้เท้ากรุณา" ใช้สรรพนามของตนว่า "เกล้ากระหม่อม" ฝช้คำรับว่า "ขอรับกระผม"
  3. คำที่พระภิกษุใช้เพ็ดทูลต่อพระเจ้าแผ่นดิน แทนคำรับว่า "ถวายพระพร" แทนตนเองว่า "อาตมภาพ" ใช้สรรพนามของพระองค์ว่า "มหาบพิตร"

 วิธีใช้คำประกอบหน้าคำราชาศัพท์

  1. พระบรมราช ใช้ประกอบหน้าคำเพื่อให้เห็นว่าสำคัญยิ่ง ในกรณีที่ต้องการเชิดชูพระราชอำนาจ
  2. พระบรม ใช้ประกอบหน้าคำเพื่อให้เห็นว่าสำคัญยิ่ง ในกรณีที่ต้องการเชิดชูพระราชอิสริยยศ
  3. พระราช ใช้ประกอบหน้าคำเพื่อให้เห็นว่าสำคัญรองมาจาก พระบรม เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งเฉพาะขององค์พระเจ้าแผ่นดิน
วิธีใช้คำประกอบหลังคำราชาศัพท์
  1. ทรง ใช้ประกอบหลังคำนาม เพื่อเป็นคำนามราชาศัพท์
  2. ต้น ใช้ประกอบหลังคำนามสำคัญทั่วไป เพื่อทำให้เป็นคำนามราชาศัพท์ มักใช้กับสิ่งที่โปรดเป็นพิเศษ
  3. หลวง ใช้ประกอบหลังคำนามสามัญทั่วไป เพื่อให้เป็นนามราชาศัพท์
  4. พระที่นั่ง ใช้ประกอบหลังคำนามสามัญ เพื่อให้เป็นนามราชาศัพท์ มีความหมายว่าเป็นที่ประทับส่วนพระองคราชาศัพท์สำหรับพระภิกษุสงฆ์
ราชาศัพท์สำหรับพระภิกษุสงฆ์
        ไทยเรามีคำพูดที่ใช้กับพระภิกษุโดยเฉพาะอยู่ประเภทหนึ่งบางทีก็เป็นคำที่พระภิกษุเป็นผู้ใช้เอง ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักกันหมดแล้ว เช่น คำว่า อาตมาภาพ หรืออาตมา มีความหมายเท่ากับ ฉัน บางคำก็ทั้งท่านใช้เองและเราใช้กับท่าน เช่น คำว่า ฉัน หมายถึง กิน เป็นต้น การพูดกับพระภิกษุต้องมีสัมมาคารวะ สำรวม ไม่ใช้ถ้อยคำที่เป็นไปในทำนองพูดเล่นหรือพูดพล่อยๆ ซึ่งจะเป็นการขาดความเคารพไปสำหรับพระภิกษุ เราจำเป็นต้องทราบราชทินนาม เรียกว่า พระภิกษุผู้ทรงสมณศักดิ์ ของพระภิกษุเรียงลำดับได้ดังนี้ เพื่อที่จะได้ใช้ได้อย่างถูกต้อง
  1. สมเด็จพระสังฆราช
  2. สมเด็จพระราชาคณะ หรือ ชั้นสุพรรณปัฎ คือ พระภิกษุที่มีราชทินนามนำหน้าด้วยคำว่า "สมเด็จพระ"
  3. พระราชาคณะชั้นรอง
  4. พระราชาคณะชั้นธรรม พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "ธรรม" นำหน้า
  5. พระราชาคณะชั้นเทพ พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "เทพ" นำหน้า
  6. พระราชาคณะชั้นราช พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "ราช" นำหน้า
  7. พระราชาคณะชั้นสามัญ
  8. พระครูสัญญาบัติ , พระครูชั้นประทวน , พระครูฐานานุกรม
  9. พระเปรียญตั้งแต่ 3-9
        การใช้คำพูดกับพระภิกษุทรงสมณศักดิ์ ที่ผิดกันมากคือชั้นสมเด็จพระราชาคณะเห็นจะเป็นเพราะมีคำว่า "สมเด็จ" นำหน้าจึงเข้าใจว่าต้องใช้คำราชาศัพท์ ซึ่งผิด ความจริงแล้ว พระภิกษุทรงสมณศักดิ์ที่ต้องใช้ราชาศัพท์มีเฉพาะเพียงสมเด็จพระสังฆราชเท่านั้น เว้นแต่พระภิกษุรูปนั้นๆ ท่านจะมีฐานันดรศักดิ์ทางพระราชวงศ์อยู่แล้ว.

    คำราชาศัพท์ที่ควรทราบ

พระภิกษุที่เป็นพระราชวงศ์ ใช้ราชาศัพท์ตามลำดับชั้นแห่งพระราชวงศ์ สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า(สมเด็จพระสังฆราชที่เป็นพระราชวงศ์) ใช้ดังนี้
คำขึ้นต้น ใช้ว่า ขอประทานกราบทูล (กล่าวพระนามเต็ม)
สรรพนามแทนผู้พูด ใช้ว่า ข้าพระพุทธเจ้า
สรรพนามแทนพระองค์ท่าน ใช้ว่า ใต้ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย ใช้ว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ใช้ราชาศัพท์เสมอพระเจ้าวรวงศ์เธอ (ที่มิได้ทรงกรม) เช่น
คำขึ้นต้น ใช้ว่า กราบทูล (กล่าวพระนามเต็ม)
สรรพนามแทนผู้พูด ใช้ว่า เกล้ากระหม่อม (สำหรับชาย), เกล้ากระหม่อมฉัน(สำหรับหญิง)
สรรพนามแทนพระองค์ท่าน ใช้ว่า ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย ใช้ว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

สรรพนามบุรุษที่ 1 ที่พระภิกษุใช้

คำที่ใช้โอกาสที่ใช้
อาตมาพระภิกษุใช้กับบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ใหญ่หรือมีฐานะตำแหน่งสูงในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ
อาตมาภาพพระภิกษุใช้กับพระราชวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป และใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ เช่น การแสดงพระธรรมเทศนา
เกล้ากระผมพระภิกษุใช้กับพระภิกษุที่เป็นอุปัชฌาย์อาจารย์หรือที่ดำรงสมณศักดิ์สูงกว่า
ผม,กระผมพระภิกษุใช้กับพระภิกษุด้วยกันโดยทั่ว ๆ ไป
สรรพนามบุรุษที่ 2 ที่พระภิกษุใช้
คำที่ใช้โอกาสที่ใช้
มหาบพิตรพระเจ้าแผ่นดิน
บพิตรพระราชวงค์
คุณโยมบิดา, มารดา, ญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่อาวุโสสูง
คุณ,เธอใช้กับบุคคลทั่วไป
สรรพนามบุรุษที่ 2 ที่ฆราวาสใช้
คำที่ใช้โอกาสที่ใช้
พระคุณเจ้าฆราวาสใช้กับสมเด็จพระราชาคณะ, รองสมเด็จพระราชาคณะ
พระคุณท่านฆราวาสใช้กับพระราชาคณะชั้นรองลงมา
ท่านใช้กับพระภิกษุทั่วไป
คำขานรับที่พระภิกษุใช้
คำที่ใช้โอกาสที่ใช้
ขอถวายพระพรพระราชวงค์
เจริญพรฆราวาสทั่วไป
ครับ,ขอรับใช้กับพระภิกษุด้วยกัน
ศัพท์สำหรับพระภิกษุที่พบบ่อย
คำที่ใช้โอกาสที่ใช้
รูปลักษณะนามสำหรับพระภิกษุสงฆ์
อาราธนาขอเชิญ
เจริญพระพุทธมนต์สวดมนต์
ภัตตาหารอาหาร
ประเคนยกของ(ด้วยมือ)ให้พระ
ฉันกิน
ถวายมอบให้
เครื่องไทยธรรมของถวายพระ, ของทำบุญต่าง ๆ
อนุโมทนายินดีด้วย
อาสนะ, อาสน์สงฆ์ที่นั่ง
ธรรมาสน์ที่แสดงธรรม
เสนาสนะสถานที่ที่ภิกษุใช้
จำวัดนอน
สรงอาบน้ำ
มรณภาพตาย
ปลงผมโกนผม
กุฏิเรือนพักในวัด
จำพรรษอยู่ประจำวัด
อุปสมบทบวช (บวชเป็นพระภิกษุ)
บรรพชาบวช (บวชเป็นสามเณร)
ลาสิกขาสึก
คิลานเภสัชยารักษาโรค
ลิขิตจดหมาย
ครองผ้าแต่งตัว
ถวายอดิเรกกล่าวบทอวยพรพระมหากษัตริย์
บิณฑบาตรับของใส่บาตร
ปลงอาบัติแจ้งความผิดให้ทราบ
ปัจจัยเงิน
ทำวัตรสวดมนต์
เผดียงสงฆ์แจ้งให้สงฆ์ทราบ
สุผ้าซักผ้า, ย้อมผ้า
อาพาธป่วย














คำกริยา

คำกริยาเป็นคำแสดงอาการหรือบอกสภาพของนาม หรือสรรพนามที่เป็นประธานของประโยค  เช่น
คนไทยกินข้าวทุกวัน    : คนไทยเป็นนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
                                       กินข้าวทุกวัน  แสดงอาการหรือสภาพให้ผู้อื่นรู้

คำกริยามี  1  ชนิด  ดังนี้คือ
            1. อกรรมกริยา  เป็นกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับเช่น
                        หน้าต่างเปิด
                        หล่อนเดิน
                        เขาร้องเพลง
            2. สกรรมกริยา   เป็นกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ   เช่น
                        นักเรียนปิดประตู                       
                        เขาดื่มกาแฟทุกวัน
            3. กริยาอาศัย ส่วนเติมเต็ม  (วิกตรรถกริยา)  เป็นคำกริยาที่ต้องมีคำมาประกอบเพื่อให้ได้ความสมบูรณ์  แต่คำที่ตามมานั้นไม่ใช่กรรม  คำกริยาชุดนี้ได้แก่  เป็น  เหมือน  คือ  คล้าย  เช่น
                                    คนซื่อสัตย์คือผู้มีเกียรติ
                                    คนขยันอ่านหนังสือเป็นคนฉลาด
                                    เธอเหมือนดาราภาพยนตร์
                                    เขาคล้ายพ่อ
            4. กริยาช่วย (กริยานุเคราะห์)   เป็นกริยาที่ใช้ประกอบหรือช่วยกริยาหลักของประโยค อาจประกอบข้างหน้าหรือข้างหลังก็ได้    ตัวอย่าง
                                    นักเรียนถูกเฆี่ยน
                                    เขาต้องมาที่นี่
                                    ฉันเคยไปแล้ว
                                    ท่านเพิ่งจะเดินทางกลับมาจากต่างจังหวัด




คำอุทาน


 คำอุทาน  หมายถึงคำพวกหนึ่งที่เปล่งออกมา แต่ไม่มีความหมาย เป็นเพียงแสดงวามรู้สึก
อารมณ์   หรือความต้องการของผู้พูดให้ผู้ฟังทราบ  
     คำอุทานแบ่งออกเป็น  2  ประเภท  ดังนี้

 1. คำอุทานบอกอาการ  เป็นคำอุทานที่ผู้พูดเปล่งออกมาเพื่อบอกอาการ หรือความรู้สึก
ของผู้กล่าว  คำอุทานชนิดนี้แบ่งเป็นหลายพวก ตามอาการต่าง ๆ เช่น
       แสดงอาการร้องเรียก หรือบอกให้รู้ตัวได้แก่ เฮ้ย ! แนะ ! โว้ย ! เฮ้ ! นี่แนะ !
       แสดงอาการโกรธเคือง ได้แก่ ชิชะ !  ดูดู๋ !  อุเหม่ !
       แสดงอาการตกใจ  ได้แก่   เอ๊ะ ! คุณพระช่วย ! ตาย ! ตาเถน ! ว้าย ! โอ้ !
       แสดงอาการประหลาดใจได้แก่ แม่เจ้าโว้ย ! แหม ! อ๊ะ ! โอ ! โอโฮ้ ! ฮ้า !  ว้าว !
      แสดงอาการปลอบโยน  ได้แก่  พุทโธ่ !  โถ !  โธ่ !  อนิจจา !
      แสดงอาการเข้าใจหรือรับรู้ ได้แก่   อ้อ !   เออ !   อือ !
      แสดงอาการเยาะเย้ย ได้แก่  เชอะ !  เอ๊ว !  กิ๊วกิ๊ว !  กุ๋ยกุ๋ย !
      แสดงอาการดีใจ  ได้แก่  ไชโย !
 2. คำอุทานเสริมบท   คือคำอุทานที่ผู้พูดกล่าวเพิ่มเติมถ้อยคำ หรือเสริมขึ้น
เพื่อให้คล้องจอง เท่านั้น โดยไม่ต้องการเนื้อความ เช่น
  อาหงอาหาร   หนังสือหนังหา
  ล้างไม้ล้างมือ   ลืมหูลืมตา
  กินหยูกกินยา   เลขผานาที

 ข้อสังเกต
 1. คำอุทานบอกอาการ เวลาเขียนมักนิยมใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! ) กำกับไว้หลัง
         คำอุทานนั้น
 2. คำอุทานเสริมบทเป็นคำที่เติมเข้าไปเพียงต้องการให้คล้องจองกันเท่านั้น อาจไม่มี
         ความหมายก็ได้
หน้าที่ของคำอุทาน
      1. แสดงอารมณ์ผู้พูด  เช่น ชิชะ! บ๊ะ ! เหม่ !  โถ !  อนิจจา !  โอ !  แหม !  ฯลฯ
      2. ใช้เสริมท้ายคำอื่นเพื่อความไพเราะ เช่น เสื่อสาด  เสื้อแสง  ไม่กินไม่แกน ฯลฯ
           และยังใช้เป็นคำสร้อยของคำโคลง เช่น
           เสียงฤาเสียงเล่าอ้าง อันใด   พี่เอย











คำวิเศษณ์



คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่น ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ ให้มีความหมายชัดเจนขึ้น
คำวิเศษณ์ แบ่งออกเป็น 9 ชนิด คือ
          1. สักษณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะ ชนิด ขนาด สี เสียง กลิ่น รส อาการ เป็นต้น เช่น
ดอกจำปีมีกลิ่นหอม
เจี๊ยบมีรถยนต์คันใหม่
น้อยหน่ามีดอกไม้สีแดง
แมวตัวนี้มีขนนุ่ม
ในสังคมมีทั้งคนดีและคนชั่ว แจ๊คชอบทานอาหารเผ็ด
          2. กาลวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกเวลา อดีต ปัจจุบัน อนาคต เช้า สาย บ่าย ค่ำ เป็นต้น เช่น
เงาะจะดูละครบ่ายนี้
ครั้นเวลาค่ำลมก็พัดแรง
คนโบราณชอบดูหนังตะลุง
วันสอบนักเรียนมักจะมาเช้า
          3. สถานวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกสถานที่หรือระยะทาง ได้แก่คำว่า ใกล้ ไกล เหนือ ใต้ ขวา ซ้าย หน้า บน หลัง เป็นต้น เช่น
โรงเรียนอยู่ไกล
เขาอาศัยอยู่ชั้นล่าง
บอยเดินไปทางทิศเหนือ
ไก่เป็นสัตว์บก
          4. ประมาณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกจำนวนหรือปริมาณ ได้แก่คำว่า มาก น้อย หมด หนึ่ง สอง หลาย ทั้งหมด จุ เป็นต้น เช่น
สุนัขที่เลี้ยงไว้กินจุทั้งสิ้น
มาโนชมีเรือหลายลำ
เขาไม่มีโรงเรียนหลายวัน
คุณดื่มเบียร์มากไปไม่ดีนะ
          5. นิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะแน่นอน ได้แก่คำว่า นี่ โน่น นั่น นี้ นั้น โน้น แน่ เอง ทั้งนี้ ทั้งนั้น อย่างนี้ เป็นต้น เช่น
กระเป๋านี้ฉันทำเอง
พริกเองเป็นคนเล่าให้เพื่อนฟัง
แก้วนี้ต้องทำความสะอาดอย่างนี้
ตึกนี้มีคนขายแล้ว
          6. อนิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะ ไม่แน่นอน ได้แก่คำว่า อันใด อื่น ใด ไย ไหน อะไร เช่นไร เป็นต้น เช่น
คนไหนอาบน้ำก่อนก็ได้
ซื้อขนมอะไรมาโฟกัสกินได้ทั้งสิน
ตี่จะหัวเราะทำไมก็ช่างเขาเถอะ
คนอื่นๆกลับบ้านไปหมดแล้ว
          7. ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกเนื้อความเป็นคำถามหรือความสงสัย ได้แก่คำว่า ใด อะไร ไหน ทำไม เป็นต้น เช่น
ผลไม้อะไรที่แน็คซื้อมาให้ฉัน
สุนัขใครน่ารักจัง
นักร้องคนไหนไม่ชอบร้องเพลง
การเล่นฟุตบอลมีกติกาอย่างไร
          8. ประติชญาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงถึงการขานรับในการเจรจาโต้ตอบกัน ได้แก่คำว่า จ๋า ค่ะ ครับ ขอรับ ขา วะ จ๊ะ เป็นต้น เช่น
หนูจ๊ะรถทัวร์จะออกเดี๋ยวนี้แล้ว
คุณตัดเสื้อเองหรือค่ะ
คุณแม่ขาหนูทำจานแตกค่ะ
ผมจะไปพบท่านขอรับ
          9. ประติวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความปฏิเสธไม่ยอมรับ ได้แก่คำว่า ไม่ ไม่ได้ หามิได้ บ่ เป็นต้น เช่น
เขาตามหาหล่อนแต่ไม่พบ
พี่ไม่ได้แกล้งน้องนะ
ความรู้มิใช่ของหาง่ายนะเธอ
เธอไม่ปลูกต้นไม้เลย
          หน้าที่ของคำวิเศษณ์ มักจะทำหน้าที่เป็นส่วยขยายในประโยค
1. ขยายนาม เช่น เด็กดีมีวาจาไพเราะ ห้องเก่าทาสีใหม่ เป็นต้น
2. ขยายคำสรรพนาน เช่น ท่านทั้งหลายกรุณาพร้อมใจไปเลือกตั้ง เป็นต้น
3. ขยายคำกริยา เช่น อ๊อฟกินอาหารมากเกินไป โอเล่พูดเพราะมาก เป็นต้น
4. ขยายคำวิเศษณ์ เช่น เขาทำงานหนักมาก ฉันทำเองจริงๆ เป็นต้น
5. เป็นคำอกรรมกริยา หรือกริยาที่ไม่ต้องการกรรมได้ด้วย เช่น น้อยหน่าสวยแต่โฟกัสฉลาด เด็กคนนั้นผอมจัง เป็นต้น




สระ



สระ


สระ หมายถึง เครื่องหมายใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมา ตามหลักภาษา ถือว่าพยัญชนะจำเป็นต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้

รูปสระในภาษาไทยมี ๒๑ รูปดังนี้
  1. ะ เรียกว่า วิสรรชนีย์
  2. ั เรียกว่า ไม้หันอากาศ หรือ ไม้ผัด
  3. ็ เรียกว่า ไม้ไต่คู้
  4. า เรียกว่า ลากข้าง
  5. ิ เรียกว่า พินทุ หรือ พิทุอิ
  6. ่ เรียกว่า ฝนทอง
  7. ่ ่ เรียกว่า ฟันหนู
  8. ํ เรียกว่า นฤคหิต หรือ หยาดน้ำค้าง
  9. ุ เรียกว่า ตีนเหยียด
  10. ู เรียกว่า ตีนคู้
  11. เ เรียกว่า ไม้หน้า
  12. ใ เรียกว่า ไม้ม้วน
  13. ไ เรียกว่า ไม้มลาย
  14. โ เรียกว่า ไม้โอ
  15. อ เรียกว่า ตัวออ
  16. ย เรียกว่า ตัวยอ
  17. ว เรียกว่า ตัววอ
  18. ฤ เรียกว่า ตัว ฤ (รึ)
  19. ฤๅ เรียกว่า ตัว ฤๅ (รือ)
  20. ฦ เรียกว่า ตัว ฦ (ลึ) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
  21. ฦๅ เรียกว่า ตัว ฦๅ (ลือ) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว




เมื่อเวลาออกเสียงสระ เช่น อะ อา เอะ เอ เอียะ เอีย จะออกเสียงแตกต่างกัน บางตัวออกเสียงสั้น บางตัวออกเสียงยาว บางตัวเหมือนมีสระสองเสียงกล้ำกัน ดังนั้น จึงจัดแบ่งเสียงสระเป็นพวกใหญ่ ๆ ได้ 5 พวกด้วยกัน คือ
  • สระเสียงสั้น ได้แก่ สระที่ออกเสียงสั้น คือ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ไอ ใอ เอา
  • สระเสียงยาว ได้แก่ สระที่ออกเสียงยาว คือ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ
  • สระเดี่ยว ได้แก่ สระที่เปล่งเสียงออกมาเป็นเสียงเดียว ไม่มีเสียงอื่นประสมมี 18 ตัวได้แก่ อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ โอะ โอ เอาะ ออ
  • สระประสม คือ สระที่มีเสียงสระเดี่ยว 2 ตัวประสมกัน มี 6 ตัวได้แก่
  1. เอียะ เสียง อิ กับ อะ ประสมกัน
  2. เอีย เสียง อี กับ อา ประสมกัน
  3. เอือะ เสียง อึ กับ อะ ประสมกัน
  4. เอือ เสียง อื กับ อา ประสมกัน
  5. อัวะ เสียง อุ กับ อะ ประสมกัน
  6. อัว เสียง อู กับ อา ประสมกัน
  • สระเกิน คือ สระที่มีเสียงซ้ำกับสระเดี่ยว ต่างกันก็แต่ว่าสระเกินจะมีเสียงพยัญชนะประสมหรือสะกดอยู่ด้วย มี 8 ตัว ได้แก่
  1. ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ (รึ รือ ลึ ลือ) มีเสียงพยัญชนะ ร ล ประสมอยู่
  2. อำ มีเสียง อะ และพยัญชนะ ม สะกด
  3. ใอ ไอ มีเสียง อะ และพยัญชนะ ย สะกด (คือ อัย)
  4. เอา มีเสียง อะ และพยัญชนะ ว สะกด

บางตำราถือว่าภาษาไทยมี 21 เสียง ทั้งนี้ คือไม่รวมสระเกินซึ่งถือว่าเป็นหน่วยเสียงในตัวเองโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว และไม่รวมสระประสมเสียงสั้น คือ เอียะ เอือะ อัวะ เนื่องจากมีที่ใช้ในภาษาไทยน้อยมาก และส่วนใหญ่จะเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติซึ่งไม่ได้ใช้สื่อความหมายอื่น